โครงการพัฒนาระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อการประมวลผลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology - High Performance Computing Cluster : SUT-HPCC) เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อรวมกัน แล้วใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกันได้ จากการศึกษาพบว่าระบบนี้มีความสามารถในการประมวลผลสูงเทียบเท่ากับซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างระบบกลุ่มนี้มีวางจำหน่ายทั่วไป   

รายละเอียดเว็บไซต์  http://hpcc.sut.ac.th

 

               นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการที่ใช้ยังเป็นระบบเปิด (Open sources) เรียกว่า ลีนุกซ์ (Linux) ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ และซับซ้อน ที่ต้องการประมวลผลด้วยความเร็วสูง โดยสามารถจำแนกประเภทของปัญหาได้เป็น 2 แบบ คือ

    1. Large scale computing job (การคำนวณขนาดใหญ่)
    2. Large number of medium scale computing jobs (การคำนวณขนาดกลาง แต่มีจำนวนมาก)

ซึ่งปัญหาทั้ง 2 แบบนี้ หากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาเพียงเครื่องเดียวอาจต้องใช้เวลาในการประมวล ผลนานมาก และทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับนักวิจัยในสาขาเดียวกันของสถาบัน อื่นๆ ได้ โดยกลุ่มวิจัยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆ ดังเช่นกลุ่มต่อไปนี้

กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ เช่น 

    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีเลเซอร์
    • สาขาวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์

เป็นต้น

กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น

    • สาขาวิชาชีวเคมี

เป็นต้น

กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น

    • สาขาวิชาการรับรู้ระยะไกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

กลุ่มเทคโนโลยีสังคม เช่น

    • สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศ

เป็นต้น

กลุ่มแพทยศาสตร์

กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ดังกล่าว และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรวมบริการ ประสานภารกิจ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทางศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะ สูงเพื่อการประมวลผลขึ้นมา เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มศักยภาพทางด้านการประมวลผลให้กับมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้น สนับสนุนงานวิจัยทางด้านการคำนวณเชิงตัวเลข และผลักดันให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ที่ความสามารถในการประมวลผลของระบบอยู่ที่อย่างน้อย 1 TeraFLOPS

ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีระบบกริดและคอมพิวโหนด (Computenode) จำนวน 10 หน่วยการประมวลผล โดยได้รับมอบจากศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้เล็งเห็นความต้องการของงานวิจัย ที่ต้องการการประมวลผลที่สูงกว่าระบบที่มีอยู่ จึงได้จัดหากลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เพื่อใช้งานจำนวน 32 หน่วยการประมวลผล

ข้อมูลของเครื่องที่ให้บริการ (Specification of HPCC)

    • ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจากศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ จำนวน 10 หน่วยประมวลผล เป็นระบบกริดคอมพิวติ้งโหนด
    • ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจัดหาเพิ่มเติม จำนวน 32 หน่วยประมวลผล

 

Software / Compiler ที่ให้บริการ

ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในปัจจุบันมี Software สำหรับใช้ในการทำงาน โดยแยกเป็นดังนี้

Access control Software

    • OpenSSH
    • Putty
    • Winscp

Compiler Software

    • Intel Fortran Compiler ได้แก่ ifort
    • Intel C, C++ Compiler ได้แก่ icc, icpc
    • GNU Compiler ได้แก่ gcc, g++, f77

Software สำหรับ Cluster

    • mpich
    • openmpi

Editor

    • vi
    • emacs

 

การลงทะเบียบขอรับบริการ (Online)

 

บริการสำหรับ

    • บุคลากร (Staff)
    • นักศึกษา (Student) สงวนสิทธิ์สำหรับ ป.โท และ ป.เอก

 

ติดต่อสอบถามขอคำปรึกษา

    • 4802 - 08 ฝ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

Power by : NetWork Division Team, The Center for Computer Services.