Sample Data-Articles

รายงานผลการดำเนินงาน (monthly report)  พ.ศ.2566

ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและบริการคอมพิวเตอร์

 

        เดือน

รายงานการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

มกราคม

          

                 

กุมภาพันธ์

         

                 

มีนาคม

          

                 

เมษายน

          

                 

พฤษภาคม

          

                 

มิถุนายน

          

 

กรกฏาคม

 

 

สิงหาคม

 

 

กันยายน

 

 

ตุลาคม

 

 

พฤศจิกายน  

 

ธันวาคม

 

 

 

รายงานผลการดำเนินงาน (ย้อนหลัง)

  

ปี พ.ศ.

รายงานการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

 2558

 

 N/A

 2559

 

 N/A

 2560

 

 N/A

 2561

 

 N/A

 2562

 

 N/A

 2563

   

 2564

   

 2565

   

โครงการพัฒนาอินเตอร์เน็ตดาต้าเซนเตอร์ (Data Center) และ ศูนย์สำรองรองข้อมูล (DR-Site)

หลักการและเหตุผล :

       ปัจจุบันระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย และข้อมูลทางด้านสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้มีจำนวนมากและมีการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี รวมทั้งข้อมูลมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการขยายศักยภาพของระบบ Internet Data Center เพื่อให้สามารถรองรับระบบสารสนเทศและข้อมูลสารสนเทศที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นได้ และต้องมีการจัดทำ Disaster and Recovery Site (DR site) เป็น site สำรองข้อมูล เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศ และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย อันเนื่องจากสาเหตุไม่คาดคิด และไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เกิดจากอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่สำคัญชำรุด, หรือการเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น
       โดยศูนย์คอมพิวเตอร์ จะจัดเช่าอุปกรณ์ เพื่อนำมาจัดทำระบบ Disaster and Recovery Site (DR site) เป็น site สำรองข้อมูล ในลักษณะ worm site จะมีการติดตั้ง hardware และ software ที่ backup site โดยระบบสำรองจะทำงานในลักษณะ standby และเมื่อระบบ Internet Data Center หลักเกิดปัญหา ระบบสำรองก็จะถูกนำมาใช้งาน

 

วัตถุประสงค์ :

1.เพื่อให้ข้อมูลระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมีความปลอดภัย และมีระบบสำรองข้อมูล (Backup data) สำหรับรองรับการสำรองข้อมูลจำนวนมากและมีขนาดใหญ่
3.เพื่อให้มีระบบสำรองด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้จ่ายงบประมาณ และ แบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน (Share Storage)

ตัวชี้วัดโครงการ

1. มีอุปกรณ์สำรองข้อมูล (Production Storage) ความจุไม่น้อยกว่า 80 TB
2. จำนวนระบบสารสนเทศที่ได้รับการสำรองข้อมูล ร้อยละ 100
3. ระยะเวลาในการแก้ไขหรือนำข้อมูลสำรองกลับมาคืนได้ (ไม่เกิน 30-180 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล)
4. ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง (High Available Services)  available time ร้อยละ 80

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

  • ผู้กำกับดูแล : ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข (16 ชั่วโมง/ปี)
  • ผู้ปรึกษาหน่วยงาน : ผศ.ดร.ศุภกฤษฎิ์ นิวัฒนากูล (84 ชั่วโมง/ปี)
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ: นายกฤช กุลนาวิล (518 ชั่วโมง/ปี)
  • ผู้ร่วมงาน: 1. ณัฐพงษ์ อรุณศรีศุภมิตร (287 ชั่วโมง/ปี)
  •               2. เดชฐิพงษ์ เลิศไกร (7 ชั่วโมง/ปี)
  •               3. ราตรี เวชวิริยกุล (35 ชั่วโมง/ปี)
  •               4. ปัทมา แฉ่งชูเชื้อ (14 ชั่วโมง/ปี)
  •               5. พฤษดี พินิจพงษ์ (7 ชั่วโมง/ปี)
  •               6. เอกภาวี ไขกระโทก (70 ชั่วโมง/ปี)
  •               7. เอรินทร์ ชุมใหม่ (70 ชั่วโมง/ปี)

 

เอกสาร -แผนงานที่เกี่ยวข้อง 

DR-Site_2018.pdf


การกู้คืนระบบสารสนเทศ  

ศูนย์คอมพิวเตอร์มีแนวทางการสำรองข้อมูลระบบสารสนเทศ (Virtual server) โดยจะทำการสำรองข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือน ในอัตราความถี่ 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะดำเนินการในช่วงเวลา 18.00-05.00 น. ของทุกวัน โดยผู้ดูแลระบบสารสนเทศสามารถร้องขอการกู้คืนข้อมูลได้ย้อนหลัง 7 สำเนาย้อนหลัง นับจากวันปัจจุบัน  

 

 

VPN (Virtual Private Network) หรือ "เครือข่ายส่วนตัวเสมือน" ใช้เทคนิคการทำ tunneling วิ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็เสมือนว่ายังใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอยู่ หลังจากเชื่อมต่อ VPN แล้ว ข้อมูลจราจรทั้งหมดจะวิ่งมายังเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยก่อนออกสู่อินเทอร์เน็ต

เนื่องจากการเชื่อมต่อ VPN ทำให้เสมือนว่าใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัย จึงทำให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จำกัดให้ใช้งานได้จากภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น เช่น การใช้งาน website ที่เข้าถึงได้เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย,   ฐานข้อมูลงานวิจัย บทความต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ การบริหารจัดการ server จากภายนอกมหาวิทยาลัย  ได้จากที่ไหนก็ได้ โดยการเชื่อมต่อ VPN จะต้องยืนยันตัวตนโดยบัญชีผู้ใช้งาน internet account ของมหาวิทยาลัยฯ ก่อนเชื่อมต่อทุกครั้ง


ข้อควรทราบ

กรณีที่ใช้งานเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ openvpn เพื่อใช้งาน internet เนื่องจากออกเส้นทางเดียวกันอยู่แล้ว และจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับ openvpn server โดยไม่จำเป็น จึงได้ทำการปิดกั้นการเชื่อมต่อ openvpn จากเครื่อข่ายภายในมหาวิทยาลัยฯ

ข้อตกลงการใช้งาน

  1. การใช้งานระบบเครือข่ายงานนี้ ใช้เพื่อการ การทำงาน การศึกษาค้นคว้า วิจัยในทางที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
  2. การใช้งานระบบเครือข่ายงานนี้ จะถูกบันทึกการใช้งานไว้ตามกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550
  3. ในกรณีที่พบว่ามีการใช้งานที่เกิดผลกระทบต่อระบบหรือการใช้งานของผู้ใช้งานอื่น ผู้ดูแลระบบสามารถยุติหรือยกเลิกการใช้งานของผู้ใช้นั้นได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  4. การใช้งานที่ละเมิดต่อกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 เจ้าของบัญชีผู้ใช้ที่ละเมิดกฎหมาย จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ว่าจะให้ใครใช้บัญชีผู้ใช้ก็ตาม *ดังนั้นผู้ใช้ต้องใช้บัญชีผู้ใช้เป็นการส่วนตัว ไม่แจกจ่ายให้ผู้อื่น เนื่องด้วยเจ้าของบัญชีต้องรับผิดชอบผลอันเกิดจากการใช้บัญชีผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
  5. การใช้งานผ่านระบบเครือข่ายงานนี้ จะใช้งานได้เฉพาะเว็บไซต์ที่ทางมหาวิทยาลัยอนุญาตเท่านั้น เพื่อไม่ให้นำทรัพยากรของทางมหาวิทยาลัยไปใช้ในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
  6. การเข้าสู่ระบบ OpenVPN ด้วยบัญชี้ผู้ใช้มหาวิทยาลัยฯ ถือว่าเป็นการยอมรับข้อตกลงการใช้งานนี้โดยปริยาย

การใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows

การติดตั้ง

1. download ตัวติดตั้งโปรแกรม OpenVPN ที่นี่

2. ทำการติดตั้งโปรแกรม โดยการกด Next และ Install ตามขั้นตอน



 

3.เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จ ให้ทำการ download file client.ovpn 

      3.1. สำหรับการใช้งาน website ที่เข้าถึงได้เฉพาะภายในมหาวิทยาลัยเช่น การสมัคร email @g.sut.ac.th ,การสมัคร 0ffice365 , การเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัย บทความต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ ให้ทำการ download file  client.ovpn ที่นี่  (คลิ้กเมาส์ขวา -> เลือก save link as  นามสกุลต้องเป็น .ovpn) สำหรับเชื่อมต่อ 
*คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา สามารถ download เพื่อใช้งานได้

 

     3.2. สำหรับการบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายของมหาวิทยาลัย , ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ต้องการเข้าถึง server ของตนเอง สามารถติดต่อขอรับไฟล์ client.ovpn โดยแจ้งวัตถุประสงค์การขอใช้งาน ได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  *กรณ๊นี้จำกัดการใช้งานสำหรับคณาจารย์-บุคลากรเท่านั้น 

 

เมื่อได้ file client.ovpn แล้วให้ทำตาม step ต่อไป

 

4. copy file client.ovpn ที่ download มาไปยัง folder C:\Program Files\OpenVPN\config 

 


 

การเชื่อมต่อ

1. เปิดโปรแกรม OpenVPN GUI



2. คลิกขวาที่ icon  ที่ system tray แล้วกด Connect แล้วระบุ internet account  (รหัสพนักงาน-รหัสนักศึกษา) และรหัสผ่านตามลำดับ



 

3. เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จไอคอนจะเป็นสีเขียว  

 

จากนั้นจะเรียกใช้งานเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัย ที่ท่านต้องการเข้าถึง , การใช้งานฐานข้อมูลงานวิจัย ของศูนย์บรรณสารฯ จะสามารถเข้าถึงได้จากนอกมหาวิทยาลัย
หรือ กรณีการบริหารจัดการ server  สามารถเรียกใช้โปรแกรม ftp /  ssh / remote desktop / webmin / ได้ตามปกติ

 


 

การยกเลิกการเชื่อมต่อ

-ที่ไอคอน  (อยู่ที่ taskbar ด้านล่างขวา) ให้คลิ้กขวาที่ icon แล้ว Disconnect เมื่อต้องการยกเลิกการเชื่อมต่อ

*หมายเหตุ ควร disconnect ออกจาก openvpn ทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ  เพื่อการลดภาระให้กับ server และ  เพื่อให้ server  สามารถรองรับผู้ใช้งานท่านอื่นด้วย

โครงการพัฒนาระบบบริการคอมพิวเตอร์เสมือน
(Virtualization Desktop Infrastructure)


 
               เนื่องด้วยศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Virtualization Desktop Infrastructure (VDI) เพื่อพัฒนาระบบบริการเข้าใช้งาน software  จากส่วนกลาง  เพื่อกระจายการเข้าถึง software ที่มีลิขสิทธิ์ แก่คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างศักยภาพการทำงานและการเรียนรู้และพัฒนาผลงานวิจัยของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงทรัพยากรซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ได้แนวทางหนึ่ง

 

*หมายเหตุ พบปัญหาการใช้งานสามารถติดต่อแจ้งปัญหาได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

*หมายเหตุ2 การใช้งานระบบจากภายนอกมหาวิทยาลัย จำเป็นต้อง setup ระบบ openvpn ก่อน  >> setup ระบบ Open vpn คลิ้กที่นี่
(สามารถใช้ไฟล์ client.ovpn ได้ทั้ง ข้อ 3.1,3.2 ในขั้นตอนการตั้งค่า openvpn)

 *ประเมินการใช้งานระบบ VDI -> https://forms.gle/GiyJVXKhqaNzMXzH8


วัตถุประสงค์ :

1. เพื่ออำนวยความสะดวกใช้ผู้ใช้งานเข้าถึงซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ได้อย่างทั่วถึง
2. เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ภายในมหาวิทยาลัย
3. เพื่อบริหารจัดการ การใช้งานซอฟต์แวร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการใช้งานโปรแกรมของห้องปฺฎิบัติการคอมพิวเตอร์
 

รายชื่อ software ที่ให้บริการ :

1. โปรแกรมแต่งภาพ Adobe CS6 Master Collection  (20เครื่อง)

- Adobe Photoshop CS6 Extended
- Adobe Illustrator CS6
- Adobe InDesign CS6
- Adobe Acrobat X Pro
- Adobe Flash Professional CS6
- Adobe Flash Builder 4.6 Premium Edition
- Adobe Dreamweaver CS6
- Adobe Fireworks CS6
- Adobe Premiere Pro CS6
- Adobe After Effects CS6
- Adobe Audition CS6
- Adobe SpeedGrade CS6
- Adobe Prelude CS6
- Adobe Encore CS6
- Adobe Bridge CS6
- Adobe Media Encoder CS6

2.โปรแกรมเขียนแบบ  (20 เครื่อง)

- AutoCad 2016
- Solidwork 2018

3.โปรแกรมสถิติ-คำณวน (20 เครื่อง)

- SPSS V16
- Mathtype

 4.โปรแกรม SPSS V.29 (2 เครื่อง)

 

 

4. โปรแกรมที่มีการจัดซื้อเพิ่มเติม โดยสำนักวิชา

  โปรแกรม SPSS V.29 (2 เครื่อง)  จัดซื้อโดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรจัดซื้ 2 license / NO license expire 
(ใช้งานได้ทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ทุกสาขาวิชา)

 

วิธีการใช้งานระบบ VDI 

 1. การติดตั้งโปรแกรม Vmware-Horizon-Client เพื่อเข้าใช้งานระบบ VDI
1.1ติดตั้งโปรแกรม VMware-Horizon-Client (version : 5.1.0)  >>คลิ้กที่นี่ เพื่อ download<<
เมื่อได้ตัวติดตั้ง VMware-Horizon-Client-5.1.0-14045148.exe ให้ทำการ double click โปรแกรมเพื่อติดตั้ง
 
 
1.2 ทำการอนุญาต application เพื่อติดตั้งลงบนเครื่อง

 
1.3 คลิ้กที่ปุ่ม "Agree and Install"
 
 
1.4 รอจนการติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์ กด "finish"
 
 
 1.5 จากนั้นโปรแกรมจะให้ restart เครื่อง 1 ครั้ง ให้กดปุ่ม "restart now"
 
  1.6 เมื่อ restart เครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
 
 

2.การเข้าใช้งานระบบ VDI 

 
2.1 ให้เข้าสู่โปรแกรม VMware Horizon Client โดย icon จะปรากฏที่หน้าจอ desktop ให้ทำการ double click โปรแกรม VMware Horizon Client
 
 2.2 จะปรากฏหน้าจอการ add server ให้ double click ปุ่ม add server จากนั้นกรอกชื่อ connection server : vdi.sut.ac.th
จากนั้นกดปุ่ม connect

 
 
2.3 จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ login ให้ทำการ login เข้าสู่ระบบ ด้วย "internet account" ในรูปแบบ domain ดังนี้   
  • username : sut.ac.th\249003      (มี sut.ac.th นำหน้า ตามด้วย blackslash ตามด้วย รหัสพนักงานหรือรหัสนศ.)
  • password : xxxxxxxx                    (ใช้ password เดียวกับ internet account)


 
 2.4 จะปรากฏรายชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual machine) ที่มีโปรแกรมลิขสิทธิ์บรรจุอยู่    ให้ double click เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการใช้งาน 
**เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน อาจมีโปรแกรมปรับเปลี่ยนไปตามลิขสิทธิ์ software การเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัยจัดซื้อในแต่ละปีงบประมาณ**
 
 
  
  
 
 
 2.5 เมื่อเข้าใช้งานจะปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์เสมือนดังนี้  ซึ่งสามารถใช้งานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติ 
 
 
 

3. การ save file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน

ในกรณีที่ต้องการ save file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน 
ให้ save file ไปที่ this pc -> drive : Z (network drive) -> Desktop
ซึ่งจะเป็นการ save file ลง desktop ของเครื่องคอมพิวเตอร์จริง  ไฟล์ที่ได้จะปรากฏอยู่ที่หน้าจอ desktop เครื่องคอมพิวเตอร์จริง ของผู้ใช้งาน
  
 

4. การเลิกใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน

ที่เมนูบาร์ด้านบนของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน เลือกเมนู option -> disconnect and logoff

 

*ขอควรรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบ VDI 

1. เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนที่ให้บริการ มีจำนวนจำกัด  ดังนั้น หากมีปริมาณผู้ใช้งานแต่ละชนิดเต็มโควต้าการใช้งาน  จะไม่สามารถให้บริการผู้ใช้รายถัดไปได้ ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ใช้งาน log off ออกจากระบบ 
2. เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนที่ให้บริการ เป็นการให้บริการลักษณะ random ดังนั้นเมื่อ login ใช้งานครั้งถัดไปผู้ใช้งานอาจไม่ได้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนเครื่องเดิมที่เคยใช้งาน ดังนั้นไม่ควร save file ใดๆ ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน
3. จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน อาจมีเพิ่มขึ้น หรือลดลง ตามปริมาณโปรแกรมลิขสิทธิ์ที่มหาวิทยาลัยมีให้บริการ
4. เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน อาจมีโปรแกรมปรับเปลี่ยนไปตามลิขสิทธิ์ software การเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัยจัดซื้อในแต่ละปีงบประมาณ
5. พบปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งผู้ดูแลระบบ โทร 4788  /  email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 

Digital life-Student

Power by : NetWork Division Team, The Center for Computer Services.