Extensions

รายงานค่าโทรศัพท์สำนักงาน (ตัด 8)

 

ลำดับที่ เดือน ยอดค่าโทรศัพท์
1
พฤษภาคม 2557 67,458.74
2
มิถุนายน 2557 72,370.52
3
กรกฏาคม 2557 73,937.54
4
สิงหาคม 2557 63,934
5
กันยายน 2557 68,537.94
6
ตุลาคม 2557 79,940.77
7
พฤศจิกายน 2557 66,884.25
8
ธันวาคม 2557 64,739.82
9
มกราคม 2558 67,946.59
10
กุมภาพันธ์ 2558 65,850.35
11
มีนาคม 2558 73,809.67
12
เมษายน 2558 51,945.29
13
พฤษภาคม 2558 61,309.27
14
มิถุนายน 2558 65,790.86
15
กรกฏาคม 2558 -ยังไม่ครบรอบบิล-

 

 

ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ google เปิดตัวบริการ SUTg.dot

ซึ่งเป็นการรวมบริการ Google Apps for Education จาก google  แก่นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนแบบทำงานร่วมกันในรูปแบบคลาวด์ (Cloud service) สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้การติดต่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำงานร่วมกันได้จากทุกที่

 

Google Apps for Education

  • Google Plus – plus.google.com : คือระบบ social network จาก google ที่สามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ให้กับเพื่อนๆ ได้ รวมทั้งยังสามารถประชุม นำเสนองานแบบถ่ายทอดสดหรือพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านท่าง Google Hangouts ได้
  • Google Sites – sites.google.com : เป็นบริการ personnel website จากระบบสร้างเว็บไซต์อัตโนมัติ ซึ่งท่านสามารถสร้างเว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือของ google สร้างเว็บไซต์ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที
  • Gmail – mail.google.com : บริการ email application ภายใต้ domain @g.sut.ac.th พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด มีการทำงานร่วมกับ google drive เมื่อมีการแนบไฟล์ขนาดใหญ่
  • Google Calendar – calendar.google.com : โปรแกรมจัดการตารางเวลา-บันทึกกิจกรรม และทำการนัดหมาย ทำให้ไม่พลาดทุกการแจ้งเตือน ยังสามารถแชร์ตารางกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นในองค์กรได้
  • Google Drive  – drive.google.com : พื้นที่จัดเก็บเอกสาร ไฟล์ รูปภาพต่างๆ พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด ยังสามารถแชร์ไฟล์กับบุคคลอื่นได้
  • Google Docs, Sheets, Slides – docs.google.com :บริการระบบเอกสาร online ในรูปแบบ document / Form /spreadsheet / presentation หรือ upload ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ขึ้นบนระบบ doc และสามารถแชร์ เอกสารต่าง ๆที่สร้างขึ้น หรือ upload เข้ามาเหล่านี้ ให้ผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกโดเมนได้
  • Google Classroom – classroom.google.com : เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาถูกออกมาเพื่อให้ครูมีเวลาที่ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนมากขึ้นในขณะเดียวกันนักเรียนก็มีเวลาค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้มากขึ้นด้วย
  • Google Hangout - hangout.google.com : Hangouts เป็น Application Chat ที่มีความสามารถในการพิมพ์แชทกันเหมือน Line, Whatsapp, และอื่นๆทั่วไป แต่จะมีความสามารถพิเศษในการ Hangout ที่เป็น concept ของ Google+ เข้ามาด้วย ซึ่งจะเรียกว่าเป็น Video Call โดยจะสามารถ Call หากันได้ทีละหลายๆคนด้วย
  •  

วิธีการใช้งาน -รายละเอียดเพิ่มเติม

>> คลิ้กที่นี่ << 

การสมัครเข้าบริการ

 

คู่มือการใช้งาน

  • อ่านคู่มือการใช้งาน SUTg.dot ได้ที่ http://web.sut.ac.th/g

 

บริการสำหรับ

    • บุคลากร (Staff)
    • นักศึกษา (Student)

 

ติดต่อสอบถามขอคำปรึกษา

    • 4802 - 08 ฝ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

IPv6 ย่อมาจาก “Internet Protocol Version 6? ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป  เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 (“IPv4?)

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า “IPng” (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ

การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ
– ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น
– ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง
– แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง
– ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับ

 

IPv6 จะถูกเริ่มใช้ที่ไหนก่อน

การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่าย
ทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออก
เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน

ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4
หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. การทำ dual stack—เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อ
ใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็ก
เก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็น
ต้องใช้ IPv4 address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้ dual stack นั้น
2. การทำ tunneling—เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การ
ส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่
ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไป
ยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่าย IPv6 และ
เครื่องในเครือข่าย IPv4
3. การทำ translation—การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translation
มีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,
TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4
และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4

ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสาร
โดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 network

 

ทำไมหมายเลข IPv6 address จึงมีความยาวแตกต่างกัน

หมายเลข IPv6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย “:” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4
ตัว (16 บิต) เช่น

3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234
0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001
fec0:0000:0000:0000:0200:3cff:fec6:172e
2001:0000:0000:34fe:0000:0000:00ff:0321

ทั้งนี้สามารถเขียนย่อได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใด สามารถจะละไว้ได้
2. หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “0”
3. หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด สามารถจะละไว้ได้ โดยใช้เครื่องหมาย “::” แต่จะ
สามารถทำลักษณะนี้ได้ในตำแหน่งเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

หากใช้สองเงื่อนไขแรก เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้

3fee:085b:1f1f:0:0:0:a9:1234
0:0:0:0:0:0:0:1
fec0:0:0:0:200:3cff:fec6:172e
2001:0:0:34fe:0:0:ff:321

หากใช้เงื่อนไขที่สาม เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้

3fee:085b:1f1f::a9:1234
::1
fec0::200:3cff:fec6:172e
2001::34fe:0:0:ff:321

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธี มีความยาวแตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งหมายเลข IPv6 อาจมี
หมายเลข IPv4 แทรกอยู่ ในกรณีนี้ เราสามารถเขียนในลักษณะที่คงสภาพหมายเลข IPv4 อยู่ได้ เช่น

0:0:0:0:0:0:192.168.1.1
0:0:0:0:0:ffff:192.168.1.1

สามารถเขียนย่อได้เป็น

::192.168.1.1
::ffff:192.168.1.1

สถานการณ์ในประเทศไทย

ในส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นับว่าเป็นผู้นำในการให้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย IPv6 กับต่างประเทศผ่านการทำ IPv6-over-IPv4 tunnel และการทำ 6to4 relay นอกจากนี้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติยังได้รับความร่วมมือจากหลายมหาวิทยาลัยและบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดเครือข่าย IPv6 เพื่อการทดสอบภายในประเทศ (Thailand IPv6 Testbed) ซึ่งมีการเชื่อมต่อด้วยเทคนิคที่หลากหลาย  ขณะนี้มีบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที ่ได้ทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ าย IPv6 ทั้งในและนอกประเทศแล้ว 6

บริษัท คือ CAT, AsiaInfonet, CS-Loxinfo, JI-Net, Samart และ Internet Thailand

ในปัจจุบันได้มีการก่อตั้งคณะทำงานระดับประเทศขึ้นภายใต้ชื่อ Thailand IPv6 Forum หรือ โครงการความร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครือข่าย IPv6 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย Hardware และ Software ระบบเครือข่าย ซึ่งกิจกรรมในปัจจุบันของ Thailand IPv6 Forum ได้แก่ การเข้ าร่วมเป็นสมาชิกของ Asia-Pacific IPv6 Task Force และการเชื่อมต่อแบบ Native IPv6 ภายในประเทศระหว่าง 3 องค์กรหลัก คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งเหล่านี้นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวในการตอบรับการนำ IPv6 มาใช้ในประเทศไทย

 

ที่มา : https://suraban.wordpress.com/2011/04/27/ipv6-คืออะไร

 

ให้บริการอาจารย์ บุคคลากร นิสิตนักศึกษา ในการแจ้งซ่อมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แบบออนไลน์ และการขอใช้บริการต่าง ๆ จากศูนย์คอมพิวเตอร์

 

ประเภทของงานซ่อมได้แก่ 

1. แจ้งซ่อม - คอมพิวเตอร์, printer และอุปกรณ์พ่วงอื่น ๆ ชำรุด

2. ขยายจุดให้บริการ โทรศัพท์ - โทรสาร

3. Application servcice : web mail

4. Software service : ไวรัส windows office

5. ขยายจุดให้บริการระบบเครือข่าย LAN WIFI ADSL

6. แจ้งซ่อมวิทยุสื่อสาร

7. แจ้งซ่อม-การใช้งานระบบเครือข่าย

8. อื่นๆ

 

การเข้าใช้งานระบบ

เข้าใช้ บริการระบบแจ้งซ่อม Online ที่ http://eccs.sut.ac.th  

 

บริการสำหรับ

  • บุคลากร (Staff)

 

ติดต่อสอบถามขอคำปรึกษา

      • 4802 - 08 ฝ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

               โครงการพัฒนาระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อการประมวลผลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology - High Performance Computing Cluster : SUT-HPCC) เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อรวมกัน แล้วใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกันได้ จากการศึกษาพบว่าระบบนี้มีความสามารถในการประมวลผลสูงเทียบเท่ากับซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างระบบกลุ่มนี้มีวางจำหน่ายทั่วไป   

รายละเอียดเว็บไซต์  http://hpcc.sut.ac.th

 

               นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการที่ใช้ยังเป็นระบบเปิด (Open sources) เรียกว่า ลีนุกซ์ (Linux) ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ และซับซ้อน ที่ต้องการประมวลผลด้วยความเร็วสูง โดยสามารถจำแนกประเภทของปัญหาได้เป็น 2 แบบ คือ

    1. Large scale computing job (การคำนวณขนาดใหญ่)
    2. Large number of medium scale computing jobs (การคำนวณขนาดกลาง แต่มีจำนวนมาก)

ซึ่งปัญหาทั้ง 2 แบบนี้ หากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาเพียงเครื่องเดียวอาจต้องใช้เวลาในการประมวล ผลนานมาก และทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับนักวิจัยในสาขาเดียวกันของสถาบัน อื่นๆ ได้ โดยกลุ่มวิจัยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆ ดังเช่นกลุ่มต่อไปนี้

กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ เช่น 

    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีเลเซอร์
    • สาขาวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์

เป็นต้น

กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น

    • สาขาวิชาชีวเคมี

เป็นต้น

กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น

    • สาขาวิชาการรับรู้ระยะไกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

กลุ่มเทคโนโลยีสังคม เช่น

    • สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศ

เป็นต้น

กลุ่มแพทยศาสตร์

กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตร

เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ดังกล่าว และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรวมบริการ ประสานภารกิจ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทางศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาระบบกลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะ สูงเพื่อการประมวลผลขึ้นมา เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มศักยภาพทางด้านการประมวลผลให้กับมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้น สนับสนุนงานวิจัยทางด้านการคำนวณเชิงตัวเลข และผลักดันให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ที่ความสามารถในการประมวลผลของระบบอยู่ที่อย่างน้อย 1 TeraFLOPS

ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีระบบกริดและคอมพิวโหนด (Computenode) จำนวน 10 หน่วยการประมวลผล โดยได้รับมอบจากศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้เล็งเห็นความต้องการของงานวิจัย ที่ต้องการการประมวลผลที่สูงกว่าระบบที่มีอยู่ จึงได้จัดหากลุ่มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เพื่อใช้งานจำนวน 32 หน่วยการประมวลผล

ข้อมูลของเครื่องที่ให้บริการ (Specification of HPCC)

    • ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจากศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ จำนวน 10 หน่วยประมวลผล เป็นระบบกริดคอมพิวติ้งโหนด
    • ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจัดหาเพิ่มเติม จำนวน 32 หน่วยประมวลผล

 

Software / Compiler ที่ให้บริการ

ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในปัจจุบันมี Software สำหรับใช้ในการทำงาน โดยแยกเป็นดังนี้

Access control Software

    • OpenSSH
    • Putty
    • Winscp

Compiler Software

    • Intel Fortran Compiler ได้แก่ ifort
    • Intel C, C++ Compiler ได้แก่ icc, icpc
    • GNU Compiler ได้แก่ gcc, g++, f77

Software สำหรับ Cluster

    • mpich
    • openmpi

Editor

    • vi
    • emacs

 

การลงทะเบียบขอรับบริการ (Online)

 

บริการสำหรับ

    • บุคลากร (Staff)
    • นักศึกษา (Student) สงวนสิทธิ์สำหรับ ป.โท และ ป.เอก

 

ติดต่อสอบถามขอคำปรึกษา

    • 4802 - 08 ฝ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

Subcategories

Component ImageComponents are larger extensions that produce the major content for your site. Each component has one or more "views" that control how content is displayed.In the Joomla! administrator there are additional extensions suce as Menus, Redirection, and the extension managers.

Media ImageModules are small blocks of content that can be displayed in positions on a web page. The menus on this site are displayed in modules. The core of Joomla! includes 17 separate modules ranging from login to search to random images. Each module has a name that starts mod_ but when it displays it has a title. In the descriptions in this section, the titles are the same as the names.

Media ImageTemplates give your site its look and feel. They determine layout, colors, type faces, graphics and other aspects of design that make your site unique. Your installation of Joomla comes prepackaged with four templates. Help

Plugin ImagePlugins are small task oriented extensions that enhance the Joomla! framework. Some are associated with particular extensions and others, such as editors, are used across all of Joomla!. Most beginning users do not need to change any of the plugins that install with Joomla!. Help

Power by : NetWork Division Team, The Center for Computer Services.